เมนู

ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายปูลาดสัณฐาคารให้มีเครื่องลาดทุกแห่ง แต่งตั้งอาสนะ
ตั้งหม้อน้ำ ตามประทีปน้ำมันแล้ว บัดนี้ขอพระผู้พระภาคเจ้าจงทรงทราบกาล
อันควรเถิด.
[25] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและ
จีวรพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เสด็จเข้าไปยังสัณฐาคาร ทรงชำระพระบาทยุคลแล้ว
เสด็จเข้าไปสู่สัณฐาคาร ประทับนั่งพิงเสากลาง ทรงผินพระพักตร์ตรงทิศบูรพา
แม้ภิกษุสงฆ์ชำระเท้าแล้ว เข้าไปสู่สัณฐาคาร แล้วนั่งพิงฝาด้านทิศปัศจิม ผิน
หน้าเฉพาะทิศบูรพาแวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้พวกเจ้าศากยะเมืองกบิล-
พัสดุ์ชำระพระบาทแล้ว เสด็จเข้าไปสู่สัณฐาคาร ประทับนั่งพิงฝาด้านทิศบูรพา
ผินพักตร์เฉพาะทิศปัศจิม แวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังพวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ให้
เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริงด้วยธรรมีกถาตลอดราตรีเป็นอัน
มากแล้วตรัสเรียกท่านพระอานนท์มาว่า ดูก่อนอานนท์ ปฏิปทาของเสขบุคคล
จงแจ่มแจ้งกะเธอ เพื่อพวกเจ้าศากยะเมืองกบิลพัสดุ์เถิด เราเมื่อยหลัง เราจัก
เหยียดหลังนั้น ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าโปรดให้ปูลาดผ้าสังฆาฏิเป็น 4 ชั้น สำเร็จสีหไสยา ด้วยพระปรัศว์
เบื้องขวา ทรงซ้อนพระบาทเหลื่อมพระบาท มีพระสติสัมปชัญญะ ทรง
มนสิการสัญญาในอันที่จะเสด็จลุกขึ้น.

ธรรม 6 อย่าง


[26] ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์เชิญท้าวมหานามศากยะมาว่า ดู
ก่อนมหานาม อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล คุ้มครอง
ทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณในโภชนะ ประกอบความเพียรเครื่องตื่น

ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม 7 ประการ เป็นผู้ได้ฌาน 4 อันเป็นธรรมอาศัย
ซึ่งจิตอันยิ่งเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ตามความปรารถนา เป็นผู้ได้
โดยไม่ยากไม่ลำบาก.
[27] ดูก่อนมหานาม อย่างไร อริยสาวกจึงจะชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อม
ด้วยศีล อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในพระปาติโมกข์
ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทาน
ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ดูก่อนมหานาม อย่างนี้แล อริยสาวกชื่อว่าเป็น
ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล.
[28] ดูก่อนมหานาม อย่างไร อริยสาวกจึงจะชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครอง
ทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่
ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำ
รวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น
ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยโสตะ
แล้ว. . . ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว . . .ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว . . . ถูกต้องโผฏฐัพพะ
ด้วยกายแล้ว . . . รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ
เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่ไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรม
อันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึง
ความสำรวมในมนินทรีย์ ดูก่อนมหานาม อย่างนี้แล อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้
คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย.
[29] ดูก่อนมหานาม อย่างไร อริยสาวกจึงจะชื่อว่าเป็นผู้รู้ประมาณ
ในโภชนะ อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้วกลืนกิน
อาหารไม่ใช่เพื่อจะเล่น เพื่อจะมัวเมา เพื่อความผ่องใส เพื่อความงดงาม

เพียงเพื่อความดำรงอยู่แห่งกายนี้ เพื่อให้กายนี้เป็นไปได้. เพื่อบำบัดความอยาก
อาหาร เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยคิดว่า จักกำจัดเวทนาเก่าเสียด้วย จัก
ไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้นด้วย ความเป็นไปแห่งอิริยาบถ ความเป็นผู้ไม่มีโทษ
และความอยู่เป็นผาสุกจักมีแก่เรา ดูก่อนมหานาม อย่างนี้แล อริยสาวกชื่อ
ว่าเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ.
[30] ดูก่อนมหานาม อย่างไร อริยสาวกจึงจะชื่อว่าเป็นผู้ประกอบ
ความเพียรเครื่องตื่น อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เวลากลางวันชำระจิตให้
บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้นจิต ด้วยการเดิน การนั่ง. เวลากลางคืน ในปฐม
ยาม ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้นจิต ด้วยการเดิน การนั่ง. เวลา
กลางคืน ในมัชฌิมยาม สำเร็จสีหไสยาโดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อม
เท้า มีสติสัมปชัญญะ มนสิการสัญญาในอันที่จะลุกขึ้น. เวลากลางคืน ในปัจ-
ฉิมยาม ลุกขึ้นแล้ว ชำระจิตให้บริสุทธิ์ จากธรรมเครื่องกั้นจิต ด้วยการเดิน
การนั่ง ดูก่อนมหานาม อย่างนี้แล อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้ประกอบความเพียร
เครื่องตื่น.
[31] ดูก่อนมหานาม อย่างไร อริยสาวกจึงชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วย
สัปปุริสธรรม 7 ประการ อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้มีศรัทธา คือเชื่อความตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะ
เหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ
ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษ
ที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้
เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม.

2. เป็นผู้มีหิริ คือละอายกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ละอาย
ต่อการถึงพร้อมแห่งอกุศลธรรมอันลามก.
3. เป็นผู้มีโอตตัปปะ คือสะดุ้งกลัวต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโน-
ทุจริต สะดุ้งกลัวต่อการถึงพร้อมแห่งอกุศลธรรมอันลามก.
4. เป็นพหูสูต ทรงธรรมที่ได้สดับแล้ว สั่งสมธรรมที่ได้สดับแล้ว
ธรรมเหล่าใดงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหม-
จรรย์พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ธรรม
ทั้งหลายเห็นปานนั้น อันท่านได้สดับมามาก ทรงจำไว้ได้ สั่งสมด้วยวาจา
ตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยความเห็น.
5. เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อถึงพร้อมแห่ง
อกุศลธรรม มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในอกุศลธรรม
ทั้งหลาย.
6. เป็นผู้มีสติ คือประกอบด้วยสติและปัญญาเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง
ระลึกได้ ตามระลึกได้ แม้ซึ่งกิจการที่ทำไว้แล้วนาน แม้ซึ่งถ้อยคำที่พูดไว้แล้ว
นาน.
7. เป็นผู้มีปัญญา คือประกอบด้วยปัญญา อันเห็นความเกิดและ
ความดับ อันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ดูก่อนมหา
นาม อย่างนี้แล อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม 7 ประการ.
[32] ดูก่อนมหานาม อย่างไร อริยสาวกจึงจะชื่อว่าเป็นผู้ได้ฌาน
ทั้ง 4 อันเป็นธรรมอาศัยซึ่งจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ตาม
ความปรารถนา เป็นผู้ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้
สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติ

และสุข เกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน มี
อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกายเพราะปีติสิ้นไป บรรลุ
ตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ
อยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และ
ดับโสมนัส โทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูก่อน
มหานาม อย่างนี้แล อริยสาวกชื่อว่าเป็นผู้ได้ฌานทั้ง 4 อันเป็นธรรมอาศัย
ซึ่งจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมตามความปรารถนา เป็นผู้ได้
โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก.

เสขปฏิปทา


[33] ดูก่อนมหานาม เพราะอริยสาวกเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลอย่างนี้
คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอย่างนี้ รู้จักประมาณในโภชนะอย่างนี้ ประ-
กอบความเพียรเครื่องดื่มอย่างนี้ ประกอบด้วยสัปปุริสธรรม 7 อย่างนี้ เป็น
ผู้ได้ฌานทั้ง 4 อันเป็นธรรมอาศัยซึ่งจิตอันยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขใน
ทิฏฐธรรมตามความปรารถนา เป็นผู้ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก อย่างนี้ บัณฑิต
จึงกล่าวอริยสาวกนี้ว่า เป็นผู้มีเสขปฏิปทา ถึงพร้อมด้วยคุณธรรมซึ่งเป็นดุจ
ฟองไก่ที่ไม่เน่า ควรจะชำแรกกิเลส ควรจะตรัสรู้ ควรจะบรรลุธรรมอัน
ปลอดโปร่งจากกิเลสเครื่องประกอบ ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า.
ดูก่อนมหานาม เปรียบเหมือนฟองไก่ 8 ฟอง 10 ฟอง หรือ 12 ฟอง
ฟองไก่เหล่านั้น แม่ไก่นอนทับ กก อบให้ได้ไออุ่นดีแล้ว ถึงแม่ไก่นั้นจะ
ไม่เกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า ขอลูกไก่เหล่านี้พึงทำลายเปลือกไข่ด้วยปลาย
เล็บเท้า หรือด้วยจงอยปาก ออกได้โดยสะดวกเถิด ดังนี้ ลูกไก่ภายใน